วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

บุหรง

สวีดัส ส! สวีสดีค่ะเพื่อนๆ ^^

วันนี้รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ทำบล็อกให้เพื่อนๆได้อ่าน เพราะเนื่องจาก ฉันไม่เคยทำบล็อกมาก่อนเลย และนี่เป็นการทำบล็อกเป็นครั้งแรก จึงใคร่ขอให้เพื่อนๆที่ผ่านมา ทั้งที่ยินดีผ่านมา และไม่ยินดีที่จะผ่านมา อ่านบทความและแสดงความคิดเห็นให้ฉันสักนิดเถอะค่ะ บทความที่จะให้เพื่อนๆอ่านในวันนี้เป็นบทความเกี่ยวกับนกยูง หรือ ที่เรียกว่า “บุหรง”
บุหรงจะแปลว่า นก หรือ นกยูงก็ได้ เราจะพบคำนี้บ่อยๆในวรรณคดีไทย เนื่องจากฉันอยากให้เพื่อนๆมีความรู้เรื่องนกยูงมากขึ้นจึงได้นำความรู้เรื่องนกยูงมาลงในบล็อกนี้ไว้แล้ว ขอเชิญเพื่อนๆอ่านและนำความรู้กลับไปใช้ประโยชน์ได้เลยค่ะ อ่านแล้วอย่าลืมแสดงความคิดเห็นด้วยนะคะ ,,, :D




นกยูง เป็น นก ตระกูล ไก่ฟ้า ><” ที่มีขนาดใหญ่ !! ในโลกนี้ มีอยู่ด้วยกัน 2 สกุล คือ สกุลของนกยูงทางทวีปแอฟริกา ได้แก่ นกยูงคองโก และ สกุลของนกยูง ทาง ทวีปเอเชีย ที่ยังแบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่ นกยูงอินเดีย หรือ นกยูงสีน้ำเงิน กับ นกยูงไทย หรือ นกยูงสีเขียว แต่นักวิชาการบางท่าน ก็ไม่ถือว่านกยูงคองโกเป็นนกยูง เพราะลักษณะภายนอก และพฤติกรรมต่างๆ แตกต่างจากนกยูงอินเดีย และนกยูงไทยมาก และสำหรับนกยูงสีเขียว ยังแบ่งได้อีกเป็น 3 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์พม่า สายพันธุ์ชวา และ สายพันธุ์อินโดจีน ซึ่งสองสายพันธุ์หลังนี้ มีการกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศไทย โดยสายพันธุ์ชวาพบอยู่ทางใต้ และสายพันธุ์อินโดจีน
พบอยู่ทั่วไปในบริเวณที่อยู่เหนือคอคอดกระ
สมัยก่อนตามริมแม่น้ำสายใหญ่ๆ ใกล้แนวป่า เช่น แถบแม่น้ำปิง แม่น้ำพอง แม่น้ำตาปี แม่น้ำแควใหญ่ และแม่น้ำแควน้อย มักพบเห็น นกยูงได้ทั่วไป แต่ว่าปัจจุบัน นกยูงเหล่านี้ไม่มีผู้ใดได้พบเห็น หรือได้ยินเสียงร้องของมันอีกเลยเพราะความเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้น จากการพัฒนาของมนุษย์ ซึ่งเปลี่ยนพื้นที่ตามริมแม่น้ำ ให้กลายเป็นชุมชน บ้านเรือน หรือพื้นที่เกษตรกรรม ทำให้นกยูง ไม่มีที่อยู่อาศัย และ นกยูงชนิดนี้ก็ไม่สามารถปรับตัว ให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ เหมือนกับนกยูงอินเดีย นอกจากนั้นยังถูกล่าเพื่อเอาขนและ ดักจับลูกนก มาขายมากขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้จำนวนนกยูงสีเขียว ที่เคยมีอยู่ทั่วประเทศลดลงอย่างรวดเร็ว และหมดไปจากหลายพื้นที่ ไม่ใช่ประเทศไทยเท่านั้นที่ประสบปัญหานี้ แต่ในประเทศเพื่อนบ้านของเรา ยกเว้นประเทศพม่าเพียงประเทศเดียว ก็ตกอยู่ในสภาพเช่นเดียวกัน แม้แต่ในรายงานของ
สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ ธรรมชาติ และทรัพยากร ( IUCN ) ได้จัดให้เป็น สัตว์ที่กำลังถูก คุกคาม และ อาจจะหมดไปในอนาคตอันใกล้นี้ :่ (



ลักษณะทั่วไป
เป็นนกที่มีขนาดใหญ่มาก! ทั้งตัวผู้และตัวเมียจะมีหงอนเป็นพู่สีเหลืองชี้ตรงอยู่บนหัว ไม่เหมือนกับนกยูงอินเดียที่เป็นรูปพัด บนหัวและคอเป็นขนสั้น ๆ สีเขียวเหลือบน้ำเงิน หน้ามีสีฟ้า ดำ และเหลือง ขนคอ หน้าอกและหลังตรงกลาง ขนมีเหลือบน้ำเงินแกมด้วยสีเขียวและสีทองแดง นกยูงตัวผู้มีแพนขนปิดหางยาวหลายเส้น ตรงปลายมีดอกดวง "แววมยุรา" ตรงกลางดวงมีสีน้ำเงินแกมดำอยู่ภายในพื้นวงกลมเหลือบเขียว ล้อมรอบด้วยรูปไข่สีทองแดง เวลานกยูงรำแพนจึงเป็นรูปพัดขนาดใหญ่มีสีสันสวยงามมาก >, < นกยูงตัวผู้ และ ตัวเมีย มีความแตกต่างกันอยู่บ้างเล็กน้อย คือ ตัวเมีย ตัวเล็กกว่า สีขนไม่สดใส T T เท่าตัวผู้ และมีเดือยสั้นกว่าเดือยของตัวผู้มาก นอกจากนั้นบริเวณขนต่าง ๆ ของคัวเมียมักมีสีน้ำตาลดำ หรือสี น้ำตาลแดงแทรกเป็นคลื่น จึงมองเห็นเป็นลายคลื่นทั่วทั้งลำตัว


อาหารของนกยูง
การหากินของ นกยูง ตามหาดริมน้ำ มันมักจะเดินตามกันอย่างช้าๆ สลับกับการหยุดยืนนิ่งเฉย เป็นเวลานานๆ มันจะไม่ใช้เท้าคุ้ยเขี่ย เพื่อหาอาหารเหมือนกับไก่ แต่จะใช้ปากจิกกินอาหาร ที่กินส่วนมากเป็น เมล็ดหญ้า และ ใบอ่อนของพืชล้มลุกหลายชนิด เช่น กก แห้วหมู พง อ้อ ผักโขมใบหนาม กุ่มน้ำ ละว้าตีเมีย โสนดง หงอนไก่ป่า ใบบอน เมล็ดหญ้า เมล็ดของไม้ต้น ธัญพืช ผลไม้สุก ฯลฯ นอกจากนี้ยังกินสัตว์ตัวเล็กๆเช่น ตัวหนอน ไส้เดือน งู ฯลฯ หรือ ถ้าเจอลูกปลาที่ติดอยู่ใน แอ่งน้ำ ตื้นๆ นกยูงก็จะจัดการเช่นกัน :P


นิสัยของนกยูง
นิสัยอย่างหนึ่ง ที่เป็นภัยต่อตัวนกยูงเอง คือ มักมีปฎิกริยาต่อเสียงดังผิดปกติ เช่น เสียงปืน เสียงไม้หัก ไม้ล้มดัง นกยูงจะส่งเสียงร้อง และ การส่งเสียง ร้องบนกิ่งไม้ที่จับคอนนอน ในเวลาเช้าตรู่ และตอนใกล้ค่ำ จึงเป็นการเปิดเผยที่ซ่อน ให้ศัตรูหรือผู้ล่าเห็นตัวได้ง่าย เป็นสาเหตุหนึ่งที่ นกยูงถูกล่า โดย นายพราน และ ศัตรูต่างๆจากธรรมชาติ



สัญชาตญาณระวังภัยของนกยูง
นกยูงทั้งตัวผู้ และ ตัวเมีย มักระวังและรักษาหางเป็นอย่าดี ขณะที่เดินข้ามน้ำ มันจะยกหางขึ้นสูงให้พ้นน้ำ ถ้าเป็น นกยูงตัวผู้ ที่มีแพนขน ปิดหาง ยาวมากๆ ระหว่างเดินบนหาด ก็จะ ยกแพนหาง ให้พ้นจากพื้นเช่นกัน ยกเว้นระหว่างที่เดินช้าๆ หรือ หยุดยืนจึงปล่อยขนหางให้ลู่ลงกับพื้น นกยูง ยังเป็นสัตว์ ที่มีสัญชาตญาณ ระวังภัยสูง มักหวาดระแวง และ สงสัย กับสิ่งผิดปกติเสมอ ดังนั้น ในการ ปรากฏตัวตามที่โล่ง เช่น ตามหาดทราย บริเวณโป่ง หรือ ที่โล่งแจ้งในป่า หากไม่แน่ใจว่า บริเวณนั้นจะปลอดภัยพอ ก็จะหลีกเลี่ยงไม่เข้าไปใช้ หรือ อาจบินไปเกาะเพื่อสังเกตการณ์อยู่บนต้นไม้สูงสักพักหนึ่ง จนแน่ใจว่าปลอดภัย จึงบินร่อนลงเข้าไป ในพื้นที่นั้น แม้แต่ระหว่างที่หากิน เมื่อก้มลงจิกอาหาร 2 - 3 ครั้ง มันจะยกหัวขึ้นมองรอบๆ ครั้งหนึ่ง ทำอยู่เช่นนี้ สลับกันไป จนแน่ใจ ก็อาจเพิ่มจำนวนครั้ง การจิกกินเป็น 4 - 5 ครั้ง แล้วจึง ยกหัวขึ้นมอง
ขณะเดียวกันถ้ามีเสียงผิดปกติ เช่น เสียงกิ่งไม้หัก หรือ เสียงร้องเตือน ของสัตว์ป่าอื่นๆ ที่หากินอยู่ใกล้เคียง เช่น พวกกระรอก นกกระแตแต้แว้ด และ นกจาบคาเคราน้ำเงิน ที่จะร้อง ทุกครั้ง เมื่อเห็น คน หรือ เหยี่ยวใหญ่ มันจะหยุดหากิน แล้วมองดูรอบๆ ถ้าเสียงยังคงดังอีก นกยูง จะวิ่งหนีเข้าไปในแนวป่ารกทึบทันที เพราะเป็นที่ หลบ ซ่อนอย่างดี เนื่องจาก ขนของนกยูง สามารถพัฒนา ให้ปรับระดับ ความเข้มของสีได้อย่างรวดเร็ว คือ ถ้าอยู่กลางแดด สีขน จะเด่นใส แวววาว แต่ถ้ามันเดินเข้าในที่ร่ม ขนสีเขียวเหลือบน้ำเงินสดใส จะปรับเป็นสีเขียวน้ำเงินหม่น กลมกลืน ไปกับสีเขียว ของพุ่มใบ ต่างๆ จนสังเกตเห็นได้ยาก แต่ถ้าอันตรายอยู่ในระยะประชิดตัว นกยูง วิ่งหนีไม่ทัน มันจะบินหนีก่อน แล้วค่อยร่อนลงสู่พื้นดินในป่า




ที่นอน
เมื่อถึงตอนเย็น นกยูง ที่หากินอยู่ตามที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นริมน้ำ หรือ ภายในป่า ก็จะต้องหาที่นอน ในบริเวณนั้นๆเลย โดยปกติ ช่วงเวลาที่ นกยูง จะบินขึ้นคอนนอน มักอยู่ในช่วง 18.00 - 18.30 น. แต่ถ้าเป็นฤดูหนาว จะบินขึ้นเร็วกว่าเดิม ประมาณ ครึ่งชั่วโมง นกยูง จะเกาะนอนบนต้นไม้สูงใหญ่ทั่วไป โดยไม่เลือกชนิดของต้นไม้ การบินขึ้นเกาะคอน จะบินขึ้นสู่กิ่งต่ำๆ ก่อน ทีละตัว แล้วค่อยๆ ไต่ไปตามปลายกิ่ง โดยใช้ การบิน หรือ กระโดด ขึ้นไปเกาะกิ่ง ที่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึงตำแหน่งประมาณเหนือกลางต้นเล็กน้อย ก็จะจับคอนนอน นอกจากนี้พบว่า นกยูง ในฝูง จะเกาะ นอน บนต้นไม้เดียวกัน หรือ บางครั้งอาจต่างต้น แต่เป็นกลุ่มของหมู่ไม้ใหญ่ที่อยู่ใกล้ๆกัน คอนไม้ใด ที่นกจับนอน ถ้ามีสิ่งรบกวนทำให้มันตกใจ มันจะบิน ออกไป หา ที่นอนใหม่ แต่ถ้ามึดแล้ว ก็จะนอนในบริเวณนั้นเลย -)


ฤดูผสมพันธุ์ของนกยูง
ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ ของ นกยูงสีเขียว มีความแตกต่างกันไปในประเทศต่างๆ สำหรับประเทศไทย ยังไม่ทราบ ช่วงเวลาที่แน่นอน แต่เมื่อเทียบกับพม่า ที่ตั้งอยู่ใน ตำแหน่งใกล้เคียงกันแล้ว Smythies คาดว่า ฤดูผสมพันธุ์ จะอยู่ในช่วงเดือน ธันวาคม ถึง พฤษภาคม แต่สำหรับ นกยูง ในป่าห้วยขาแข้ง พบว่า ฤดูผสมพันธุ์ที่แน่นอน อยู่ระหว่าง เดือน พฤศจิกายน ถึง มีนาคม
การเกี้ยวพาราสีกันของนกยูงเริ่มเมื่อนกยูงตัวเมียหากินเข้าไปในดินแดนของนกตัวผู้ ตัวผู้จะเริ่มเข้าไปหากินในฝูงด้วย และแสดงการรำแพนหาง กางปีกสองข้างออกพยุงลำตัว ชูคอขึ้นแล้วย่างก้าวเดินหมุนตัวไปรอบ ๆ ตัวเมีย การรำแพนหางจะใช้เวลาประมาณ 5 - 10 นาที หากตัวเมียพร้อมที่จะผสมพันธุ์จะย่อตัวลงให้ตัวผู้ขึ้นไปผสมพันธุ์ นกยูงทำรังบนพื้นดินตามที่โล่งหรือตามซุ้มกอพืช อาจมีหญ้าหรือใบไม้แห้งมารองรัง การวางไข่ จะวางครั้งละ 3 - 6 ฟอง เริ่มฟักไข่หลังจากออกไข่ฟองสุดท้ายแล้ว โดยใช้เวลาฟักทั้งสิ้น 26 - 28 วัน ลูกนกแรกเกิดมีขนอุยคลุมทั่วตัว สามารถยืนและเดินตามแม่ไปหาอาหารได้ทันทีที่ขนแห้ง โดยลูกนกจะตามแม่ไปหากินไม่น้อยกว่า 6 เดือน จากนั้นจึงหากินตามลำพัง

ในประเทศไทย
ปัจจุบัน มีอยู่อย่างน้อย 4 แห่งที่มีนกอยู่อาศัยอยู่ คือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร , เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เวียงโล จ.พะเยา , อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง , อุทยานแห่งชาติแม่ยม , อุทยานแห่งชาติศรีน่าน, อุทยานแห่งชาติแม่จริม , อุทยานแห่งชาติแม่ปิง และ พื้นที่ในโครงการพระราชดำริห้วยฮ่องไคร้

น่าสงสานนกยูงจัง ใกล้จะสูญพันธ์แล้ว ):
นกยูงยังอยู่ในวรรณคดีไทยต่างๆอีกมากมาย
อาทิเรื่องอิเหนาที่เราเคยเรียนกัน อยู่ในตอน "ย่าหรันได้นางเกนหลง" ระบำนกยูง หรือระบำมยุราภิรมย์ แสดงถึงหมู่นกยูงที่ออกมาเริงระบำ ก่อนที่ องค์ปะตาระกาหลาจะแปลงเป็นบุหรงสุวรรณ (นกยูงทอง) เพื่อให้ย่าหรัน ตามไปจะได้พบกับนางเกนหลง... และ ระบำชุดนี้เคยแสดงต้อนรับผู้มาเยือนประเทศด้วย ท่ารำก็จะเลียนแบบนกยูง และผสมท่ารำไทยด้วย ใช้วงปี่พาทย์บรรเลงประกอบ แต่งตัวเลียนแบบนกยูง มีกางเกง เสื้อแขนสั้น ปีก หาง หัวนกยูง ข้อมือ ข้อเท้า เข็มขัด จี้นาง เล็บ จะใช้แสดงประกอบละครก็ได้ หรือเป็นชุดเอกเทศก็ได้
นอกจากนั้นนกยุงยังเป็นตัวละครในวรรณคดีอีกหลายเรื่อง เช่น " กาพย์เห่เรือ " ในตอน " เห่ชมนก " ฯลฯ
@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

จบแล้วค่ะ ขอขอบคุณเพื่อนๆทุกคนที่อ่านมาถึงตรงนี้!
ยังไงช่วงแสดงความคิดเห็นให้ด้วยนะคะ

ผิดพลาดประการณ์ใด ก็ขออภัยมานะที่นี้ ><"

อาจรีย์ นวลขลิบ






อ้างอิง

คลังปัญญา.๒๕๕๒.บุหรง(ออนไลน์)